เมนู

อรรถกถาหฬารขัตติยสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยในกฬารขัตติยสูตรที่ 2 ต่อไป. คำว่า กฬาร-
ขตฺติโย
เป็นชื่อของพระเถระ. ก็ฟันของพระเถระนั้นดำแดง ตั้งอยู่
(ขึ้น) ไม่เสมอกัน ฉะนั้น จึงเรียกว่า "กฬาร." คำว่า "หีนายาวตฺโต
เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว" คือเวียนมาเพื่อประโยชน์แก่ความเป็น
คฤหัสถ์อันต่ำ. คำว่า "อสฺสาสมลตฺถ ไม่ได้ความพอใจ" ได้แก่
พระโมลิยผัคคุนะ คงไม่ได้ความพอใจ คือที่อาศัย ที่พึ่ง เป็นแน่.
พระสารีบุตรเถระแสดงว่า "ไม่ได้มรรค 3 และผล 3 แน่นอน."
คำอธิบายของพระเถระมีดังนี้ว่า " ก็ถ้าพระโมลิยผัคคุนะพึงได้มรรคและ
ผลเหล่านั้น เธอไม่พึงลาสิกขา เวียนมาทางฝ่ายต่ำ." บทว่า " น ขฺวาหํ
อาวุโส
ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่สงสัยเลย" ความว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ข้าพเจ้าแล มีความพอใจ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่สงสัย" เพราะว่า
สาวกบารมีญาณของพระสารีบุตรเถระ เป็นที่พึ่ง (ของตน) ได้ ฉะนั้น
ท่านจึงไม่สงสัย. ด้วยคำว่า "อายตึ ปนาวุโส ท่านผู้มีอายุ ต่อไปเล่า"
นี้ พระกฬารขัตติยะถามถึงการบรรลุพระอรหัตของพระสารีบุตรเถระว่า
" การปฏิสนธิต่อไป ท่านเพิกขึ้นแล้วหรือ หรือไม่เพิกขึ้น" ด้วยคำว่า
"น ขฺวาหํ อาวุโส วิจิกิจฺฉามิ ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่สงสัยเลย" นี้
พระสารีบุตรเถระแสดงความไม่สงสัยในการบรรลุพระอรหัตนั้น. บทว่า
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ"
ความว่า ได้เข้าไปเฝ้าด้วยคิดว่า " เราจักกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงเหตุดีนี้." คำว่า อญฺญา พฺยากตา แปลว่า พยากรณ์พระอรหัต

แล้ว. พระอรหัตผล ชื่อว่า พระสารีบุตรเถระพยากรณ์แล้วอย่างนี้ว่า
" ชาติสิ้นแล้ว." ก็พระเถระนี้ ยินดีแล้ว เลื่อมใสแล้ว จึงยกบทและ
พยัญชนะขึ้นกล่าวอย่างนี้. บทว่า " อญฺญตรํ ภิกฺขุํ อามนฺเตสิ ทรง
รับสั่งหาภิกษุรูปหนึ่ง " ความว่า พระศาสดาทรงสดับคำกราบทูลนั้น
แล้ว ทรงพระดำริว่า "พระสารีบุตรเป็นผู้ฉลาดลึกซึ้ง เธอจักไม่
พยากรณ์อย่างนี้ด้วยเหตุไร ๆ เพราะปัญหาจักเป็นอันเธอพยากรณ์แล้ว
โดยย่อ เราจักให้เรียกเธอมาแล้ว ให้พยากรณ์ปัญหานั้น" ดังนี้ จึง
ทรงรับสั่งภิกษุรูปหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า สเจ ตํ สารีปุตฺต อย่างนี้เพื่อ
ให้พระสารีบุตรเถระพยากรณ์อรหัตผลด้วยมีพระดำริว่า สารีบุตรนี้จักไม่
พยากรณ์อรหัตผลตามธรรมดาของตน เราจักถามปัญหานี้ และเธอเมื่อ
จะกล่าวแก้ปัญหานี้ จักพยากรณ์อรหัตผล. บทว่า "ยํ นิทานาวุโส
ชาติ
ท่านผู้มีอายุ ชาติคือความเกิดมีอะไรเป็นเหตุ" ความว่า ท่านผู้มี
อายุ ชื่อว่าชาจิคือความเกิดนี้ มีสิ่งใดเป็นเหตุ. ข้าพเจ้ารู้แล้วว่า "เมื่อ
ปัจจัยแห่งชาติสิ้นแล้ว เพราะปัจจัยอันเป็นต้นเหตุนั้นสิ้นไป ผลคือชาติ
จึงสิ้นไป" ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่งพระสารีบุตรเถระ ไม่สงสัยในปัญหานี้ แต่สงสัยใน
อัธยาศัย (พระประสงค์ ) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เล่ากันว่า พระ
สารีบุตรเถระนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "เราไม่อาจพยากรณ์พระ-
อรหัตผลด้วยเหตุมากมาย อาทิเช่น ตัณหาสิ้นแล้ว อุปาทานสิ้นแล้ว
ภพสิ้นแล้ว ปัจจัยสิ้นแล้ว กิเลสสิ้นแล้ว แต่เมื่อจะกล่าวแก้ปัญหา เรา
ก็จักอาจกำหนดพระประสงค์ของพระศาสดาได้" ดังนี้. พระสารีบุตร-

เถระสงสัยในพระประสงค์ (ของพระผู้มีพระภาคเจ้า) อย่างนั้นก็จริง.
ถึงอย่างนั้น ก็มิได้เว้นปัญหาเลย ได้พยากรณ์ด้วยอำนาจปัจจยาการ.
แม้พระศาสดาก็ทรงมีพระประสงค์จะให้พยากรณ์ด้วยอำนาจปัจจยาการ
นั่นแหละ. ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระนี้ เมื่อจะพยากรณ์ปัญหา จึงได้
กำหนดพระประสงค์ของพระศาสดา และได้รู้ก่อนแล้วเทียวว่า " เรา
กำหนดพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้แล้ว". ก็เพราะเหตุที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถามปัญหาที่สูงขึ้นไป ฉะนั้น จึงควรทราบว่า
การพยากรณ์ปัญหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแล้ว. ถามว่า
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภความข้อนี้ว่า "ก็ท่านรู้
อย่างไร" ดังนี้. แก้ว่า เพื่อให้พระสารีบุตรเถระบันลือสีหนาทในข้อที่
มิใช่วิสัย (ของตน).
เล่ากันมาว่า เมื่อพระศาสดาแสดงเวทนาปริคคหสูตร แก่ทีฆนข-
ปริพาชก
ที่ประตูถ้ำสุกรขาตา พระสารีบุตรเถระถือพัดใบตายืนถวาย
งานพัดพระศาสดาอยู่ กำหนดเวทนา 3 แล้วได้บรรลุสาวกบารมีญาณ.
เวทนานี้มิใช่ธรรมอันเป็นวิสัยของพระสารีบุตรเถระนั้น. พระศาสดาทรง
หมายเอาว่า "พระสารีบุตร ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นวิสัยของตนนี้ จัก
บันลือสีหนาท ดังนี้ จึงทรงถามปัญหานี้ ก็หาไม่. บทว่า "อนิจฺจา"
ได้แก่ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับไม่มีนั่นเอง. ในคำว่า
" สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ นี้ได้แก่สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่
เป็นทุกข์เพราะแปรปรวน ทุกขเวทนาเป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุข
เพราะแปรปรวน. อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้ เป็นทุกข์เพราะไม่รู้
ก็จริง ถึงอย่างนั้น โดยที่สุดแห่งความแปรปรวน เวทนาทุกอย่าง ชื่อ

ว่า เป็นทุกข์ทั้งนั้น. บทว่า "วิทิตํ รู้แล้ว" ได้แก่เพราะเรารู้แล้วว่า
เวทนา 3 เป็นทุกข์อย่างนี้ ฉะนั้น ความอยากในเวทนาเหล่านั้น จึง
เป็นอันพระสารีบุตรเถระนั้นขจัดเสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ว่า "ตัณหานั้นไม่ปรากฏ."
คำว่า "สาธุ สาธุ ถูกละๆ " เป็นความรื่นเริงในการกำหนดเวทนา
ของพระสารีบุตรเถระ. ก็เมื่อไม่กล่าวว่า "เวทนามีอย่างเดียวบ้าง มี 2
มี 3 มี 4 บ้าง " ดังนี้เลย. พระสารีบุตรเถระได้รู้การกำหนดเวทนา
เหล่านั้นว่า "มี 3." ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงให้
พระสารีบุตรเถระรื่นเริง จึงตรัสอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า
"ทุกฺขสฺมึ" นี้ โดยพระประสงค์ดังนี้ว่า "ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่เธอ
พยากรณ์ว่า ความอยากในเวทนาทั้งหลายไม่ปรากฏแก่เรา เพราะเหตุนี้"
ดังนี้นั้น เป็นการพยากรณ์ที่ดีแล้ว แต่เมื่อเธอจำแนกว่าเวทนามี 3 อยู่
จึงทำให้เป็นช้ายิ่ง เพราะว่า เมื่อเธอพยากรณ์เวทนานั้นว่า " เป็นทุกข์ "
ดังนี้ พึงเป็นอันพยากรณ์ดีแล้วนั่นเอง และเมื่อเพียงมีความรู้ว่า "เวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่ง ล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น" ดังนี้ ความอยากในเวทนา
ทั้งหลาย ก็ตั้งอยู่ไม่ได้.
บทว่า "กถํ วิโมกฺขา เพราะความหลุดพ้นอย่างไร" ได้แก่
เพราะความหลุดพ้นเช่นไร อธิบายว่า "เธอได้พยากรณ์พระอรหัตผล
เพราะวิโมกข์ข้อไหน." บทว่า "อชฺฌตฺตวิโมกฺขา เพราะความหลุดพ้น
ภายใน ได้แก่เพราะพระอรหัตที่ตนกำหนดสังขารภายในบรรลุแล้ว.
ในคำว่า เพราะความหลุดพ้นภายในนั้น พึงทราบหมวด 4 ดังนี้
" ความตั้งมั่นในภายใน ที่ชื่อว่า การออกภายใน 1 ความตั้งมั่นในภายใน

ที่ชื่อว่า การออกภายนอก 1 ความตั้งมั่นในภายนอก ที่ชื่อว่า การออก
ภายนอก 1 ความตั้งมั่นในภายนอก ที่ชื่อว่า การออกภายใน 1 ก็แม้
ธรรมตั้งมั่นแล้วในภายใน พึงทราบว่า มีในภายนอกนั่นเอง ที่ตั้งมั่น
ในภายนอก ก็พึงทราบว่า เป็นธรรมภายในนั่นเอง เพราะฉะนั้น ภิกษุ
บางรูปหยั่งญาณลงในสังขารอันเป็นภายใน กำหนดสังขารเหล่านั้นแล้ว
หยั่งลงภายนอก ครั้นกำหนด (สังขาร) แม้ในภายนอกได้แล้ว ย่อม
หยั่งลงภายในอีก. ในเวลาที่ภิกษุนั้นพิจารณาสังขารอันเป็นภายในย่อมมี
การออกจากมรรค. ความตั้งมั่นในภายใน ชื่อว่า เป็นการออกภายใน
อย่างนี้. บางรูปหยั่งญาณลงในสังขารอันเป็นภายใน กำหนดสังขาร
เหล่านั้นแล้ว หยั่งลงภายนอกอีก. ในเวลาที่ภิกษุนั้นพิจารณาสังขารใน
ภายนอก ชื่อว่าเป็นการออกจากมรรค. ความตั้งมั่นในภายใน ชื่อว่า
เป็นการออกภายนอกอย่างนี้. บางรูปหยั่งญาณลงในสังขารในภายนอก
กำหนดสังขารเหล่านั้นแล้ว หยั่งลงภายใน ครั้นกำหนดสังขารแม้ที่เป็น
ภายในได้แล้ว ก็หยั่งลงภายนอกอีก เมื่อเวลาที่ภิกษุนั้นพิจารณาสังขาร
ในภายนอก เป็นอันชื่อว่าออกจากมรรค. ความตั้งมั่นในภายนอก ชื่อ
ว่าเป็นการออกในภายนอกอย่างนี้ บางรูปหยั่งญาณลงในสังขารภายนอก
กำหนดสังขารเหล่านั้นแล้ว หยั่งลงภายในอีก ในเวลาที่ภิกษุนั้นพิจารณา
สังขารอันเป็นภายใน ชื่อว่าเป็นการออกจากมรรค. ความตั้งมั่นในภายนอก.
ชื่อว่าเป็นการออกในภายในอย่างนั้น. ในข้อนั้น พระสารีบุตรเถระกำหนด
สังขารอันเป็นภายในแล้ว เมื่อจะแสดงว่า "เราได้บรรลุพระอรหัตแล้ว"
ด้วยการออกจากมรรคในเวลากำหนดสังขารเหล่านั้น จึงกล่าวว่า "ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามีสติอยู่อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน."

บทว่า "สพฺพุปาทานกฺขยา เพราะอุปาทานทั้งปวงสิ้นไป" ได้แก่เพราะ
ความสิ้นไปแห่งอุปาทาน 4 ทั้งหมด. คำว่า "ตถาสโต วิหรามิ เรามิ
สติอยู่อย่างนั้น" ได้แก่เราประกอบด้วยสติอยู่ด้วยอาการนั้น. คำว่า
"ยถาสตํ วหนฺตํ ผู้มีสติอยู่อย่างไร." ได้แก่เราผู้ประกอบด้วยสติอยู่
ด้วยอาการใด. ข้อว่า "อาสวา นานุสฺสวนฺติ อาสวะทั้งหลายย่อมไม่
ครอบงำ" อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายมีกามาสวะเป็นต้น อันมีการไหล
ไปในอารมณ์ 6 เป็นธรรมดา ทางทวาร 6 อย่างนี้ คือ ไหลไป
หลากไป หลั่งไหลไป เป็นไปในรูปทางตา ย่อมไม่ครอบงำ คือไม่ตาม
ผูกพันเรา ได้แก่ไม่เกิดขึ้นแก่เรา อย่างไร. ข้อว่า "อตฺตานญฺจ
นาวชานามิ
และไม่ดูหมิ่นตนเอง" แปลว่า ไม่ดูถูกตนเอง. การละ
ความดูหมิ่น จึงเป็นอันพระสารีบุตรเถระกล่าวแล้วด้วยคำนี้. ก็เมื่อเป็น
เช่นนี้ ความรู้ทั่วไปย่อมเป็นอันผ่องใส.
บทว่า "สมเณน" ได้แก่สมณะคือพระพุทธเจ้า. ข้อว่า
"เตสฺวาหํ น กงฺขามิ ข้าพเจ้าไม่สงสัยในอาสวะเหล่านั้น" อธิบายว่า
ข้าพเจ้าไม่สงสัยในอาสวะเหล่านั้น แม้โดยสรุปประเภทว่า กามาสวะ
คืออะไร ภวาสวะคืออะไร ทิฏฐาสวะคืออะไร และอวิชชาสวะคืออะไร
ก็ดี โดยการกำหนดตัดจำนวนอย่างนี้ว่า อาสวะมี 4 ดังนี้ก็ดี. ข้อว่า
"เต เม ปหีนาติ น วิจิกิจฺฉามิ" อธิบายว่า ข้าพเจ้าไม่แคลงใจว่า
อาสวะเหล่านั้น ข้าพเจ้าละได้แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง
ความข้อนี้ จึงตรัสว่า "เมื่อเธอพยากรณ์อยู่อย่างนี้ พึงเป็นอันพยากรณ์
ดีแล้ว แต่เมื่อเธอกล่าวอยู่ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีสติอยู่
อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน ดังนี้ จึงทำให้เป็นช้ายิ่ง."

ข้อว่า "อุฏฺฐายาสนา วิหารํ ปาวิสิ เสด็จลุกจากอาสนะแล้ว
เสด็จเข้าสู่พระวิหาร" อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นจาก
พระพุทธอาสน์อันประเสริฐที่ปูลาดไว้ แล้วเสด็จเข้าสู่ภายในมหาคันธกุฎี
อันเป็นที่ประทับ ในเมื่อบริษัทยังมิได้แยกย้ายกันเลย. เพราะเหตุไร.
เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเทศนายังไม่จบ (และ. ) บริษัทยัง
มิได้แยกย้ายกัน ได้เสด็จลุกจากอาสนะ เมื่อจะเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี
ย่อมเสด็จเข้าไปเพื่อชมเชยบุคคลหรือเพื่อชมเชยธรรมะ. ในการชมเชยนั้น
พระศาสดา เมื่อจะเสด็จเข้าไปเพื่อชมเชยบุคคล ได้ทรงพระดำริอย่างนี้
ว่า "บทนี้ เรายกขึ้นสู่อุเทศแสดงแต่โดยย่อ มิได้จำแนกโดยพิสดาร
พวกภิกษุที่ยอมรับปฏิบัติธรรม เล่าเรียนแล้ว จักเข้าไปถามพระอานนท์
บ้าง พระมหากัจจายนะบ้าง ภิกษุเหล่านั้น จักสนทนาเทียบเคียงกับญาณ
ของเรา แต่นั้น พวกที่ยอมรับปฏิบัติธรรมก็จักถามเราอีก เราจักชมเชย
บุคคลเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระอานนท์ก็ดี
พระมหากัจจายนะก็ดี กล่าวแก่ภิกษุแม้เหล่านั้น ชื่อว่า เป็นอันกล่าวดี
แล้ว แม้หากพวกเธอจะพึงถามข้อความนี้กะเราไซร้ เราก็จะพึงพยากรณ์
อย่างนี้นั่นเอง แต่นั้น พวกภิกษุจักเข้าไปแสดงคารวะต่อพระเถระทั้งสอง
นั้น แม้พวกภิกษุเหล่านั้นก็จักชักชวนผู้อื่นให้ตั้งอยู่ในอรรถ ในธรรม
ผู้ที่ถูกภิกษุเหล่านั้นชักชวนแล้ว จักบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์แล้วทำ
ที่สุดทุกข์ได้." อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงมีพระ
ดำริอย่างนี้ว่า "เมื่อเราหลีกไปเสียแล้ว พระสารีบุตรนี้ จักได้กระทำ
ให้แจ้งซึ่งอานุภาพของตน ครั้นแล้ว เราเองก็จักชมเชยเธออย่างนั้น
พวกภิกษุที่ฟังคำชมเชยเธอของเราแล้ว เกิดความคารวะในเธอ จัก

สำคัญเธอว่าควรเข้าไปหา ควรเชื่อฟังคำของเธอ และควรเชื่อถือ ความ
สำคัญเช่นนั้น จักมีเพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน."
พระศาสดา เมื่อจะเสด็จเข้าไปเพื่อทรงชมเชยธรรมะ ได้ทรงพระ
ดำริเหมือนกับที่ทรงพระดำริในธรรมทายาทสูตร. ก็ในธรรมทายาทสูตร
นั้น พระองค์ทรงพระดำริอย่างนี้ว่า " เมื่อเราเข้าไปสู่วิหารแล้ว พระ
สารีบุตรเมื่อจะติเตียนอามิสทายาท และชมเชยธรรมทายาท จักนั่งใน
บริษัทนี้แหละแสดงธรรม เทศนานี้ที่เราทั้งสองแสดงตามมติอันมีความ
ประสงค์อย่างเดียวกัน จักเป็นเลิศและหนักเช่นกับฉัตรหิน."
แต่ในพระสูตรนี้ พระศาสดามีพระประสงค์จะสถาปนาท่านพระ
สารีบุตรประกาศยกคุณธรรมอันดียิ่ง (ของท่าน) จึงเสด็จลุกจากอาสนะ
เพื่อจะทรงชมเชยบุคคล แล้วจึงเสด็จเข้าไปสู่พระวิหาร. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ทรงหายไป ณ อาสนะที่ประทับนั่งแล้วในที่เช่นนี้นั่นเอง พึง
ทราบว่า "เสด็จเข้าสู่พระวิหารด้วยคติแห่งจิต (ด้วยอำนาจจิต)" ก็ถ้า
พึงเสด็จไปด้วยคติแห่งกายไซร้ บริษัททั้งปวงก็พึงแวดล้อมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าไป. บริษัทนั้น ได้แยกย้ายกันไปเสียวาระหนึ่ง (ทำนองพัก
การประชุม) แล้วคงจะกลับมาประชุมใหม่อีก แต่ยังมิทันเรียบร้อย
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จเข้าสู่พระวิหารไปด้วยคติแห่งจิต
(ด้วยอำนาจจิต ) นั่นเอง โดยไม่ปรากฏพระองค์.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตร
ประสงค์จะบันลือสีหนาทที่อนุรูปต่อพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทีเดียว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน จึงได้เรียก
พวกภิกษุในที่ประชุมนั้นมา. ข้อว่า "ปุพฺเพ อปฺปฏิสํวิทิตํ ไม่เคยรู้

มาก่อน" ได้แก่ปัญหาอันข้าพเจ้าไม่ทราบ คือไม่รู้มาก่อนว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
จักตรัสถามปัญหาชื่อนี้. คำว่า "ปฐมํ ปญฺหํ ปัญหาข้อแรก"
ได้แก่ปัญหาข้อแรกนี้ คือ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า
ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร จึงพยากรณ์พระอรหัตผลว่า ข้าพเจ้า
รู้ชัดว่า ชาติคือความเกิดสิ้นแล้ว. บทว่า "ทนฺธายิตตฺตํ ทูลตอบล่าช้า"
ได้แก่ความล่าช้า คือความไม่รวดเร็ว ได้มีเพื่อที่จะได้รู้พระประสงค์ของ
พระศาสดา. ข้อว่า "ปฐมํ ปญฺหํ อนุโมทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อนุโมทนาปัญหาข้อที่ 1 แล้ว" อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงถามปัญหาข้อที่ 2 นี้ว่า ท่านพระสารีบุตร ก็ชาติมีอะไรเป็นเหตุ
ได้ทรงอนุโมทนาปัญหาข้อที่ 1 ที่พระสารีบุตรเถระแก้แล้วอย่างนี้ว่า
ชาติมีปัจจัยเป็นต้นเหตุ.
บทว่า "เอตทโหสิ ได้มีความคิด" อธิบายว่า ความคิดนี้
ได้มีแล้ว เพราะค่าที่ปัญหาได้ปรากฏโดยความเป็นหมู่เดียวกัน โดยนัย
ตั้งร้อยตั้งพัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าอนุโมทนาแล้ว. ข้อว่า "ทิวสปหํ
ภควโต เอตมตฺถํ พฺยากเรยฺยํ
แม้ข้าพเจ้าก็พึงทูลตอบข้อความนี้
ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดทั้งวัน" อธิบายว่า ข้าพเจ้าถูกพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสถามถึงเนื้อความในปฏิจจสมุปบาท แม้ตลอดทั้งวัน ก็
พึงทูลตอบถวายด้วยบทและพยัญชนะอื่น ๆ แม้ตลอดทั้งวัน. ข้อว่า
"เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ"
อธิบายว่า เล่ากันว่า พระกฬารขัตติยภิกษุนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
พระสารีบุตรเถระย่อมบันลือสีหนาทอย่างยิ่ง เราจักกราบทูลเหตุดีนี้แด่
พระทศพล เพราะฉะนั้น พระกฬารขัตติยะจึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ.
สาวกบารมีญาณ อันสามารถมองเห็นความดับแห่งปัจจยาการ ชื่อ
ว่า ธรรมธาตุ ในคำนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุ ก็ธรรมธาตุนั้น." ก็สาวก
บารมีญาณของพระสาวกทั้งหลาย เป็นไปในคติแห่งพระสัพพัญญุตญาณ
นั่นเอง. ธรรมทั้งหลายที่เป็นอดีตเป็นอนาคตและเป็นปัจจุบัน ย่อม
ปรากฏแก่พระสัพพัญญุตญาณ ฉันใด สาวกบารมีญาณของพระสารีบุตร
เถระ ย่อมรู้โคจรธรรมทั้งปวงของสาวกญาณ ก็ฉันนั้น.
จบอรรถกถากฬารขัตติยสูตรที่ 2

3. ปฐมญาณวัตถุสูตร



ว่าด้วยญาณวัตถุ 44



[118] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ 44 แก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงตั้งใจฟังซึ่งญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[119] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็
ญาณวัตถุ 44 เป็นไฉน. คือความรู้ในชราและมรณะ 1 ความรู้ในเหตุ
เป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ 1 ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ 1
ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงควานดับแห่งชราและมรณะ 1 ความรู้ในชาติ 1
ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ 1 ความรู้ในความดับแห่งชาติ 1